ไม้แดด

บทความ

วิธีเลือกซื้อปุ๋ยให้เหมาะสมกับดิน และคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป

27-10-2557 08:38:23น.

ปุ๋ย คือ วัสดุที่มีธาตุอาหารพืชเป็น องค์ประกอบหรือสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้ เกิดธาตุอาหารพืช เมื่อใส่ลงไปในดิน แล้วจะปลดปล่อยหรือสังเคราะห์ ธาตุอาหารที่จำเป็นให้แก่พืช ดินที่มีความอุดม สมบูรณ์สูงจึงต้องการธาตุอาหารพืชเพิ่ม เติมจากปุ๋ยน้อยกว่าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

วิธีเลือกซื้อปุ๋ย


ปุ๋ยแบ่งได้ 4 ประเภทดังนี้

  1. ปุ๋ยเคมี คือ สารประกอบอนินทรีย์ที่ให้ธาตุ อาหารพืช เป็นสารประกอบที่ผ่านกระบวนการผลิตทาง เคมี เมื่อใส่ลงไปในดินที่มีความชื้นที่เหมาะสมจะละลาย ให้พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว

  2. ปุ๋ยอินทรีย์ คือ สารประกอบที่ได้จากสิ่งมีชีวิต ได้แก่ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ฯลฯ ผ่านกระบวนการผลิตทาง ธรรมชาติ ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่ใช้ในการปรับปรุงสมบัติทาง กายภาพของดิน ทำให้ร่วนซุย ระบายน้ำ และถ่ายเท อากาศได้ดี รากพืชชอนไชไปหาธาตุอาการได้ง่าย
    1. ปุ๋ยอินทรีย์มี 3 ประเภท คือ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก และปุ๋ยพืชสด
      ปุ๋ยอินทรีย์มีปริมาณธาตุอาหารพืชน้อยเมื่อเปรียบ เทียบกับปุ๋ยเคมี และธาตุอาหารพืชส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ สารประกอบอินทรีย์ เช่น ไนโตรเจนอยู่ในสารประกอบ จำพวกโปรตีน เมื่อใส่ลงไปในดินพืชจะไม่สามารถดูดไปใช้ ประโยชน์ได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน แล้วปลดปล่อยธาตุอาหารเหล่านั้นออก มาในรูปสารประกอบอนินทรีย์ เช่นเดียวกันกับปุ๋ยเคมี จากนั้นพืชจึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้

  3. ปุ๋ยชีวภาพ คือ ปุ๋ยที่ประกอบด้วยจุลินทรีย์ที่ยัง มีชีวิตอยู่และมีคุณสมบัติพิเศษ สามารถสังเคราะห์ สารประกอบธาตุอาหารพืชได้เอง หรือสามารถเปลี่ยน ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในรูปที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อพืช ให้มาอยู่ ในรูปที่พืชสามารถดูดไปใช้ประโยชน์ได้
    1. ปุ๋ยชีวภาพแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กลุ่ม จุลินทรีย์ที่สามารถสังเคราะห์สารประกอบธาตุอาหารพืช ไนโตรเจนได้เอง ได้แก่ ไรโซเบียมที่อยู่ในปมรากพืชตระกูล ถั่ว แฟรงเคียที่อยู่ในปมของรากสนทะเล สาหร่ายสีเขียว แกมน้ำเงินที่อยู่ในโพรงใบของแหนแดงและยังมีจุลินทรีย์ ที่อาศัยอยู่ในดินอย่างอิสระอีกมากที่มีความสามารถ ในการตรึงไนโตรเจนจากอากาศให้แก่พืชได้เช่นกัน และ อีกประเภทหนึ่ง คือ กลุ่มจุลินทรีย์ที่ช่วยทำให้ธาตุอาการ พืชในดินละลายออกมาเป็นประโยชน์ต่อพืชมากขึ้น เช่น ไมคอร์ไรซาที่ช่วยให้ฟอสฟอรัสที่ถูกตรึงอยู่ในดินละลาย ออกมาอยู่ในรูปที่พืชดูดไปใช้ประโยชน์ได้

  4. ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่าน กระบวนการผลิตที่ใช้อุณหภูมิสูงถึงระดับที่สามารถฆ่า เชื้อจุลินทรีย์ทั้งที่เป็นโรคพืช โรคสัตว์ และโรคมนุษย์ รวมทั้งจุลินทรีย์ทั่วๆไปด้วย จากนั้นจึงนำจุลินทรีย์ที่มี คุณสมบัติเป็นปุ๋ยชีวภาพที่เลี้ยงไว้ในสภาพปลอดเชื้อมา ผสมกันกับปุ๋ยอินทรีย์ดังกล่าว และทำการหมักต่อไปจน กระทั่งจุลินทรียืที่ใส่ลงไปในปุ๋ยหมักมีปริมาณคงที่ จุลินทรีย์เหล่านี้นอกจากจะช่วยตรึงไนโตรเจนให้แก่พืช แล้ว ยังช่วยผลิตสารฮอร์โมนพืชเพื่อกระตุ้นการเจริญ เติบโตของรากพืช และจุลินทรีย์บางชนิดยังสามารถ ควบคุมโรคพืชในดินและกระตุ้นให้พืชสร้างภูมิคุ้มกันโรค ได้อีกด้วย

ปุ๋มเคมีผสม

การเลือกซื้อปุ๋ยให้คุ้มค่า

เกษตรกรโดยทั่วไปมักตัดสินใจในการเลือกซื้อปุ๋ย โดยมักพิจารณาจากราคาต่อกระสอบเป็นหลัก กระสอบ เท่าๆกัน กระสอบใดถูกกว่าก็มักเลือกซื้อ ปุ๋ยกระสอบนั้น วิธีการนี้เป็นเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง การเลือกซื้อปุ๋ยที่มี ประสิทธิภาพ และคุ้มค่าจะต้องได้ธาตุอาหารพืชคุ้มค่า กับเงินที่จ่ายซื้อปุ๋ย ให้ใช้วิธีการคำนวณเปรียบเทียบราคา ของปุ๋ยต่อน้ำหนักธาตุอาหารพืช 1 หน่วย (กก.) ตัวอย่าง เช่น

การเปรียบเทียบราคาปุ๋ย 46-0-0 และปุ๋ย 21-0-0

  • ปุ๋ย 46-0-0 ราคาตันละ 13,400 บาท

วิธีคำนวณ
ปุ๋ย 46-0-0 หมายความว่า ปุ๋ย 1,000 กก. มีไนโตรเจน 460 กก. ราคา = 13,400 บาท เพราะฉะนั้นไนโตรเจน 1 กก. ราคา =13,400 /460 = 29.10 บาท

  • ปุ๋ย 21-0-0 ราคาตันละ 8,000 บาท

วิธีคำนวณ
ปุ๋ย 21-0-0 หมายความว่า ปุ๋ย 1,000 กก. มีไนโตรเจน 210 กก. ราคา = 8,800 บาท เพราะฉะนั้นไนโตรเจน 1 กก. ราคา = 8,000 / 210 = 38.10 บาท

สรุป
ดังนั้น ปุ๋ย 21-0-0 จึงมีราคาแพงกว่าปุ๋ย 46-0-0

การเปรียบเทียบราคาปุ๋ย 15-15-15 และปุ๋ย 16-20-0

  • ปุ๋ย 15-1515 ราคาตันละ 12,000 บาท

วิธีคำนวณ

ปุ๋ย 15-15-15 หมายความว่า ปุ๋ย 1,000 กก. มีธาตุอาหารพืช 450 กก. ราคา = 12,000 บาท เพราะฉะนั้นธาตุอาหาร 1 กก. ราคา = 12,000/450 = 26.60 บาท

  • ปุ๋ย 16-20-0 ราคาตันละ 11,000 บาท

วิธีคำนวณ

ปุ๋ย 16-20-0 หมายความว่า ปุ๋ย 1,000 กก. มีธาตุอาหารพืช 360 กก. ราคา = 11,00 บาท เพราะฉะนั้นธาตุอาหาพืช 1 กก. ราคา = 11,000/360 = 30.50 บาท

สรุป
ดังนั้น ปุ๋ย 16-20-0 จึงมีราคาแพงกว่าปุ๋ย 15-15-15

การคำนวณราคาธาตุอาหารพืชในปุ๋ยอินทรีย์

  • ปุ๋ยอินทรีย์ (2-1-1) ราคาตันละ 3,000 บาท

วิธีคำนวณ

ปุ๋ยอินทรีย์ 1,000 กก. มีธาตุอาหารพืช 40 กก. ราคา = 3,000 บาท เพราะฉะนั้นธาตุอาหาพืช 1 กก. ราคา = 3,000/40 = 75 บาท

สรุป
ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อหน่วยธาตุอาหาร พืชปุ๋ยอินทรีย์จะมีราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี ส่วนธาตุอาหาร ทั้งหมด 40 กก. ในปุ๋ยอินทรีย์ 1 ตัน พืชไม่สามารถนำไปใช้ ประโยชน์ทั้งหมดได้ทันที ต้องผ่านกระบวนการย่อยสลาย ของจุลินทรีย์เปลี่ยนจากรูปอินทรีย์สารเสียก่อนพืชจึงดูด ไปใช้ได้ ซึ่งอัตราย่อยสลายนี้ช้ามาก ปุ๋ยอินทรีย์จึงปลด ปล่อยธาตุอาหารพืชออกมาในปีแรกเพียงร้อยละ 12-20

ที่มา :
คู่มือสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ธรรมชาติของดินและปุ๋ย ศ.ดร. ทัศนีย์ อัตตะนันทร์ ดร. ประทีป วีระพัฒนนิรันดร์สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 1-12
กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม 10900